ลูกประคบสมุนไพร คือ ผ้าที่ใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน นำมานึ่งให้ร้อน เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนโบราณ แล้วประคบบริเวณที่เจ็บปวด เคล็ดขัดยอก โดยอาศัยความร้อนและคุณสมบัติสมุนไพร ทำให้อาการดีขึ้น คนไทยนิยมใช้ ลูกประคบสมุนไพร รักษากันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดไทย คือ หลังจากนวดเสร็จแล้วจึงประคบนาบไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว และตัวยาสมุนไพรร้อน ๆ ซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดปวด ช่วยลดการบวมที่เกิดจาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
สมุนไพร" ที่ใช้ในตำรับยา "ลูกประคบสมุนไพร" มีแตกต่างกันไปในวัตถุประสงค์ของการรักษา เช่น ตำรับแก้ปวดเมื่อย ตำรับแก้เหน็บชา ตำรับแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ตำหรับแก้ตะคริว เป็นต้น ตำรับแก้ปวดเมื่อยของแต่ละแห่ง อาจไม่ใช่สูตรเดียวกัน แต่มีตัวยาหลักเหมือนกัน
ส่วนมากแล้วมักใช้ "ลูกประคบสมุนไพร" ประคบกันในผู้ที่มีอาการเคล็ด ขัดยอก ซ้ำบวม แต่ถ้าต้องการประคบเพื่อคลายเครียด คลายเมื่อยล้า ก็สามารถทำได้ การประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรเพื่อคลายเครียดนี้ จะช่วยให้คุณหายจากอาการอ่อนล้า อาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อเส้นเอ็น เกิดความกระปรี้กระเปร่า สบายเนื้อสบายตัวขึ้นมาโดยพลัน
"ลูกประคบสมุนไพร" นี้ปรากฏว่ามีมาแล้วช้านาน นอกจากจะมีการนำเอาสมุนไพรต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์เป็นยากินรักษาอาการของโรคต่าง ๆ หรือนำสมุนไพรบางชนิดมาปรุงเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ขจัดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการภายนอกร่างกายได้อีกด้วย มีทั้งที่นำมาใช้เดี่ยว ๆ หรือนำมาปรุงผสมผสานเข้าด้วยกันหลาย ๆ อย่าง เป็นยาทาก็ได้ เป็นยาพอกก็ดี เป็นยาพ่น เป่าเป็นยาสูบ ยาอม ยารมควัน หรือยาประคบก็ได้ สารพัดสารพัน นี่คือมรดกทางภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนโบราณของไทยเราโดยแท้
► การประคบลูกประคบสมุนไพร มี 2 ชนิด คือ
- การประคบเปียก
- การประคบแห้ง
► ตำแหน่งการประคบ-ลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพร สามารถใช้ประคบได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นบริเวณผิวหน้า ขึ้นอยู่กับอาการของโรค อาทิ ท่อนขารวมทั้งขาอ่อน น่อง เข่า ฝ่าเท้า หรือ หลังเท้า นอกจากนั้นส่วนของแผ่นหลัง เอว สะโพก ช่วงไหล่ แขน หน้าท้องและชายโครง ก็ทำการประคบได้เช่นกัน
ลูกประคบสมุนไพร สามารถใช้ประคบได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นบริเวณผิวหน้า ขึ้นอยู่กับอาการของโรค อาทิ ท่อนขารวมทั้งขาอ่อน น่อง เข่า ฝ่าเท้า หรือ หลังเท้า นอกจากนั้นส่วนของแผ่นหลัง เอว สะโพก ช่วงไหล่ แขน หน้าท้องและชายโครง ก็ทำการประคบได้เช่นกัน