หมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนไทยนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดโรค เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ใบส้มป่อย ใบมะขาม เหง้าไพล ตะไคร้บ้าน ผิวมะกรูด การบูร พิมเสน เกลือแกง มาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของลูกประคบสมุนไพร เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดอาการแก้เคล็ดคัดยอก ฟกช้ำดำเขียว และแก้ปวดเมื่อย การเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ลูกประคบสมุนไพรสำหรับรักษาเฉพาะโรคสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยของบรรพบุรุษไทยได้อย่างน่าทึ่งยิ่งนัก
ลูกประคบสมุนไพร หนองป่าครั่ง
Thai Herbal compress (Herbalball) OTOP products by Nongpakhrang, Chiangmai Thailand
วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558
สูตรลูกประคบสมุนไพร รักษาเฉพาะโรค สูตรดั้งเดิมจากชาววัง เพื่อสุขภาพและความงาม
► ส่วนผสมยาลูกประคบสมุนไพร
สูตรแก้อาการเหน็บชา
ชาตามปลายมือ ปลายเท้า ให้นำสมุนไพรเหล่านี้มาทำลูกประคบ แล้วประคบไปตามบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณที่มีอาการเหน็บชา สมุนไพรดังกล่าวประกอบด้วย
สูตรแก้อาการเหน็บชา
ชาตามปลายมือ ปลายเท้า ให้นำสมุนไพรเหล่านี้มาทำลูกประคบ แล้วประคบไปตามบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณที่มีอาการเหน็บชา สมุนไพรดังกล่าวประกอบด้วย
- เปลือกกุ่ม 1 บาท
- เปลือกมะรุม 1 บาท
- เปลือกทองหลาง 1 บาท
- เถาวัลย์เปรียง 1 บาท
- เถาเอ็นอ่อน 1 บาท
- ไพล 1 บาท
- เกลือ 1 บาท
ความลับและประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร มรดกทางภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทย
ลูกประคบสมุนไพร คือ ผ้าที่ใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน นำมานึ่งให้ร้อน เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนโบราณ แล้วประคบบริเวณที่เจ็บปวด เคล็ดขัดยอก โดยอาศัยความร้อนและคุณสมบัติสมุนไพร ทำให้อาการดีขึ้น คนไทยนิยมใช้ ลูกประคบสมุนไพร รักษากันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดไทย คือ หลังจากนวดเสร็จแล้วจึงประคบนาบไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว และตัวยาสมุนไพรร้อน ๆ ซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดปวด ช่วยลดการบวมที่เกิดจาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
วิธีการทำ การใช้ และการเก็บรักษาลูกประคบสมุนไพรไทย
อุปกรณ์ในการทำลูกประคบสมุนไพร
1. เขียง 1 อัน และมีด 1 เล่ม
2. ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำลูกประคบสมุนไพร
3. ผ้าดิบสำหรับห่อทำลูกประคบสมุนไพร 2 ผืน และเชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร
4. หม้อนึ่งลูกประคบสมุนไพร
5. กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู
6. จานรองลูกประคบสมุนไพร
วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร
เตรียมสมุนไพรให้พร้อมก่อนลงมือปรุงตามสูตรลูกประคบสมุนไพร หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โขลกพอแหลก นำสมุนไพรชั่งน้ำหนักแต่ละชนิดตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้
นำส่วนผสมทั้งหมดของลูกประคบสมุนไพรมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วให้นำมาทดสอบน้ำหนักรวมกันอีกครั้งหนึ่ง
นำส่วนผสมสมุนไพรลูกประคบมาใส่ในผ้า ห่อเป็นลูกประคบสมุนไพร รัดด้วยเชือกให้แน่น พร้อมใช้
วิธีการห่อลูกประคบสมุนไพร
1. นำส่วนผสม สมุนไพรไทย ของลูกประคบมาวางตรงกลางผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้า 2 มุม ขึ้นมาทบกัน โดยจับทีละมุมจนครบทั้ง 4 มุม จากนั้นจะเกิดมุมผ้าขึ้นมาอีก 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุมอีกครั้งหนึ่งจนครบทั้ง 4 มุม
2. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียว จากนั้นค่อย ๆ จัดแต่งลูกประคบสมุนไพรให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม
3. เมื่อได้ลูกประคบสมุนไพรที่เป็นรูปทรงกลมที่สวยงามแล้ว ให้นำเชือกมาพับครึ่ง ร้อยเป็นห่วงให้ชายทั้งสองเท่ากัน
4. จากนั้นพันทบกัน 2 รอบแล้วผูกให้แน่นด้วยเงื่อนตาย 1 รอบ ก็จะทำให้เหลือปลายผ้าที่เท่ากันทั้งสองข้าง ค่อย ๆ จัดระเบียบชายผ้าในส่วนที่จะทำเป็นด้ามจับลูกประคบสมุนไพร
5. การทำด้ามจับลูกประคบสมุนไพร โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บชายผ้าทั้งสองด้าน
6. หลังจากที่เราจัดแต่งและซ่อนชายผ้าของลูกประคบสมุนไพรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้พับลงมาประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เพื่อทำด้ามจับ ใช้ปลายของเชือกเส้นเดิมมาพันทบกันอีก 2 รอบ โดยการผูกเชือกแบบเงื่อนตายให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง
7. ให้ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ เพื่อให้ลูกประคบสมุนไพรมีความแข็งแรงและสวยงามคงทนต่อการใช้งาน
8. นำเชือกป่านมาผูกให้แน่นอีกครั้งหนึ่งโดยผูกแบบเงื่อนตาย ปลายด้านหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เสร็จแล้วให้ยกขึ้นมาแนบกับด้ามจับลูกประคบสมุนไพร ใช้ปลายเชือกส่วนที่ยาวกว่าพันขึ้นมา โดยใช้ปลายนิ้วไล่กดเชือกให้แน่น การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ
9. เมื่อพันจนสุดชายเชือกแล้วให้ผูกเงื่อนตายไว้กับปลายเชือกเส้นที่แนบไว้กับด้ามจับในตอนแรก จากนั้นซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าที่เป็นด้ามจับ เพียงเท่านี้ก็จะได้ลูกประคบสมุนไพรที่สวยงามพร้อมสำหรับการใช้งาน
วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร
1. นำลูกประคบ สมุนไพร 2 ลูก ไปนึ่งในหม้อนึ่ง (หม้อดินหรือหม้ออะไรก็ได้) นึ่งประมาณ 15-20 นาที เมื่อลูกประคบสมุนไพรร้อนให้นำลูกแรกไปประคบตามจุดหรือตำแหน่งที่ต้องการรักษา นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่ 2 ไปนึ่งในหม้อระหว่างที่ใช้ลูกประคบลูกแรก
2. เมื่อลูกประคบลูกแรกเย็นลง นำลูกประคบลูกแรกกลับไปนึ่งใหม่อีกครั้ง นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่สองมาใช้ประคบต่อไป ทำสลับกันไปมา การประคบต้องให้ลูกประคบร้อนอยู่ตลอดเวลา
3. โดยทั่วไปใช้เวลาในการประคบประมาณ 15-20 นาที ต่อการประคบ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเคล็ดขัดยอก อาจประคบได้วันละ 2 ครั้ง
4. วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร สูตรที่มีการผสมสุราลงไปในลูกประคบสมุนไพรไม่ควรนำลูกประคบสมุนไพรไปนึ่งก่อนนำมาประคบ เพราะสุรามีฤทธิ์ร้อนอยู่แล้ว สามารถนำลูกประคบสมุนไพรมาประคบได้ทันที
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)